Skip to content

การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุค digital

ชีวิติมนุษย์เรามีเกิด แก่ เจ็บ และตาย ลักษณะขององค์กรก็เช่นกัน มีระยะเริ่มต้น ระยะเจริญเติบโต ระยะเติบโตเต็มที่ และระยะเสื่อมถอย สาเหตุของการเสื่อมถอย เช่น สินค้าของเราไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว สินค้าของเรามีสินค้าใหม่เข้ามาทดแทน หรือเราไม่ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก การที่จะทำให้องค์กรกลับมาเติบโตใหม่นั้น เราต้องทำการปรับปรุงสินค้าและบริการใหม่ ยุคนี้ต้องนำเรื่อง Robot, Automation หรือ Digital เข้ามาใช้ในการปรังปรุงด้วย

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราใช้ Model ของ Kurt Lewin ก็มี 3 step คือ

  1. การเขย่า หรือ unfreezing จากเดิมที่อยู่กันใน confort zone ผู้บริหารต้องลุกขึ้นมาบอก มาชี้แนะนำทาง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะใช้วิธี Push หรือ วิธี Pull ก็ได้ Push คือวิธีการบังคับ สั่งการ แต่วิธี Pull คือการกระตุ้น ส่งเสริม ชักจูงให้ทุกคนยอมรับและเริ่มเปลี่ยนแปลง
  2. การเปลี่ยนแปลงหรือ Change ผู้บริหารต้องให้ความรู้ หรือฝึกทักษะใหม่ให้กับพนักงาน และต้องติดตามความคืบหน้าของการเปลี่ยนแปลง
  3. การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานใหม่ หรือ Refreezing คือการฝั่งลึกวิธีการทำงานแบบใหม่ลงไป โดยทำให้เกิด standard การทำงานใหม่ เกิด Culture ใหม่

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอีก Model หนึ่งที่นิยมใช้กัน คือของ Kotter ซึ่งมีทั้งหมด 8 step คือ

  1.  การสร้างการเกิดการตระหนักความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง sense of urgency ผู้บริหารต้องบอกและชี้ให้พนักงานเห็นถึงความจำเป็นว่าทำไมต้องเปลี่ยนแปลง จะเกิดผลดีต่อองค์กรและตัวพนักงานอย่างไร
  2. การสร้างทีมหรือตั้งคณะทำงาน ที่จะมีหน้าที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ควรประกอบด้วยคนที่หลากหลาย หรือตัวแทนจากแต่ละหน่วยงาน
  3. กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ผู้บริหารต้องกำหนดภาพในอีก 3 ปีข้างหน้า องค์กรจะเป็นอย่างไร และมีวิธีการที่จะทำให้ภาพในอีก 3 ปีข้างหน้าเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร อะไรต้องทำก่อน อะไรคือ Quick win ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 จะต้องทำอะไร มีทีมใดเป็นผู้รับผิดชอบ เป้าหมายคืออะไร มีอะไรเป็น Critical success factor มีอะไรที่ Chalenge รออยู่
  4. การสื่อสาร ผู้บริหารหรือคณะทำงานต้องสือสารวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ให้พนักงานทุกคนรับทราบ เพื่อจะได้มีเป้าหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
  5. การขจัดอุปสรรค เวลาเราทำเรื่อง Change management ย่อมต้องมีการต่อต้าน เราจะต้องคาดการณ์ว่าจะมีการต่อต้านที่จุดใด กลุ่มใด และทำการอธิบายเพื่อให้เข้าใจ ขอการสนันสนุน หรือหากจำเป็นอาจต้องใช้ไม้แข็ง หรือตัดไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมสำหรับบางกรณีบาง Case ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นปัญหาในอนาคต
  6. การฉลองความสำเร็จระยะสั้น ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นและยกย่องพนักงานที่มาช่วยกันทำงาน ทำการปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไป
  7. ทำการเปลี่ยนแปลงต่อไป ตามแผนงานที่วางแผนไว้ เมื่อรวมความสำเร็จทั้งหมด เท่ากับได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
  8. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ เพื่อเป็นการปลูกฝังสิ่งที่เราทำการเปลี่ยนแปลงนั้นจะยั่งยืน ไม่กลับไปทำสิ่งเดิมอีก เป็นการกำหนดวิธีคิด วิธีการทำงานแบบใหม่ทั่วทั้งองค์กร

สำหรับยุค digital นี้ที่ต้องการความรวดเร็ว การกำหนดวิสัยทัศน์หรือวิธีการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามความต้องการของลูกค้าและเน้น Speed ความรวดเร็ว และ Flexible ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน และเชื่อว่าพนักงานมี Change skill พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดอยู่แล้ว และให้เชื่อมั่นในตัวพนักงาน หรือ Trust พนักงาน ที่ไม่ต้องไปบังคับหรือสือข้อความมากแบบสมัยก่อน สำหรับแผนงานที่มีแผนหลายแผน ต้องค่อยจัด priority อยู่เสมอ ตามความต้องการของลูกค้า สรุปปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา step ของการทำ change ก็จะไม่เป็นแบบ 1 ไป 2 หรือ 3 อะไรก็หยิบขึ้นมาทำก่อนได้

ปัญหาก็คือว่าเรามีพนักงานที่เข้าใจ concept วัฒนธรรมการทำงานแบบ Agie และเน้นการบริหารงานแบบ Okrs แล้วยัง?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *